วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ยินดีต้อนรับ


ยินดีต้อนรับสู่ blog สำหรับการศึกษาวิชา ระบบข้อมูลเพื่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์

นับจากนี้ไป blog นี้และ blog ที่นักศึกษาสร้างขึ้นจะเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

ขอให้นักศึกษานำ Technology มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมและเป็นประโยชน์ในการศึกษาต่อไป

10 ความคิดเห็น:

krung Nathamtong กล่าวว่า...

ส.อ.กรุง นาแถมทอง รหัส 502-30-0003
http://krung502-30-0003.blogspot.com

Casanovy' '我就是我' ' กล่าวว่า...

สวัสดีค่ะ อาจารย์
Blog Casanovy ได้ทำการ updat เรียบร้อยแล้ว casanovy ขอคำcommentจากอาจารย์ด้วยน่ะค่ะจะได้สร้างขวัญและกำลังใจในการส่ง Quiz#ต่อไป..อิอิ

Casanovy' '我就是我' ' กล่าวว่า...

สวัสดีค่ะ อาจารย์ประจำวิชา Ba3108 Quiz#1,2 งานอยู่ที่หน้า blog
http://www.casanovy.blogspot.com/
น่ะค่ะ
อาจารย์ตรวจแล้วขอข้อชี้แนะด้วยน่ะค่ะ
ขอบคุณค่ะ ^..^

clubzuza กล่าวว่า...

หวัดดีค่ะอาจารย์

แวะมาทักทายคร่า

นราธิวาส กล่าวว่า...

ทดสอบย่อยครั้งที่ 1
ระบบการประมวลผลข้อมูล TPS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการบันทึกและประมวลข้อมูลที่องค์การทำเป็นกิจวัตรหรือเป็นประจำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของระบบประมวลผลเชิงกายการ จะนำมาใช้ในระดับปฏิบัติการขององค์การเป็นส่วนใหญ่
นอกจากนี้ระบบประมวลผลเชิงรายการยังบันทึกข้อมูลมูลฐานหรือพื้นฐานสำหรับนำเข้าสู่ระบบอื่น ๆ เพื่อใช้ในรูปแบบการวิเคราะห์และการบริหาร เป็นระบบที่ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นประจำวันของธุรกิจ ในแต่ละฝ่ายขององค์การเพื่อง่ายแก่การเรียกใช้งานภายหลัง เป็นระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการจัดการภายในองค์กร"การจัดการระดับล่าง" ขององค์กร

หน้าที่หลักของ TPS
การทำบัญชี(Bookeeping) ทำหน้าที่ในการเก็บบันทึกการปฏิบัติงานหรือเหตุการณ์ทางการบัญชีที่เกิดขึ้นในแต่ละวันขององค์กร
การออกเอกสาร (Document Issurance) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการออกเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในแต่ละวันขององค์กร เช่น ใบรับส่งสินค้า ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น
การทำรายงานควบคุม (ControlReporting) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการออกเอกสารต่าง ๆ ที่มีผลมาจากการดำเนินงานขององค์กร เพื่อตรวจสอบและควบคุมการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ของ TPS
1.มุ่งจัดหาสารสนเทศทั้งหมดที่หน่วยงานต้องการตามนโยบายของหน่วยงานหรือตามกฎหมาย เพื่อช่วยในการปฏิบัติงาน
2.เพื่อเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานประจำให้มีความรวดเร็ว
3.เพื่อเป็นหลักประกันว่าข้อมูลและสารสนเทศของหน่วยงานมีความ ถูกต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและรักษาความลับได้
4.เพื่อเป็นสารสนเทศที่ป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการตัดสินใจอื่น เช่น

ลักษณะสำคัญของระบบสารสนเทศแบบ TPS
. มีการประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก
. แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่มาจากภายในและผลที่ได้เพื่อตอบสนองต่อผู้ใช้ภายในองค์การเป็นหลัก อย่างไรก็ตามในปัจจุบันหุ้นส่วนทางการค้าอาจจะมีส่วนใน การป้อนข้อมูลและอนุญาตให้หน่วยงานที่เป็นหุ้นส่วนใช้ผลที่ได้จาก TPS โดยตรง
. กระบวนการประมวลผลข้อมูลมีการดำเนินการเป็นประจำ เช่น ทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกสองสัปดาห์
. มีความสามารถในการเก็บฐานข้อมูลจำนวนมาก
. มีการประมวลผลข้อมูลที่รวดเร็ว เนื่องจากมีปริมาณข้อมูลจำนวนมาก
. TPS จะคอยติดตามและรวบรวมข้อมูลภายหลังที่ผลิตข้อมูลออกมาแล้ว
. ข้อมูลที่ป้อนเข้าไปและที่ผลิตออกมามีลักษณะมีโครงสร้างที่ชัดเจน (structured data)
. ความซับซ้อนในการคิดคำนวณมีน้อย
. มีความแม่นยำค่อนข้างสูง การรักษาความปลอดภัย ตลอดจนการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลมีความสำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงกับ TPS
. ต้องมีการประมวลผลที่มีความน่าเชื่อถือสูง

กระบวนการของ TPS
กระบวนการประมวลข้อมูลของ TPS มี 3 วิธี คือ
1. Batch processing การประมวลผลเป็นชุดโดย การรวบรวมข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมที่เกิดขึ้นและรวมไว้เป็นกลุ่มหรือเป็นชุด (batch) เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง หรือจัดลำดับให้เรียบร้อยก่อนที่จะส่งไปประมวลผล โดยการประมวลผลนี้จะกระทำเป็นระยะๆ (อาจจะทำทุกคืน ทุก 2-3 วัน หรือทุกสัปดาห์)
2. Online processing คือ ข้อมูลจะได้รับการประมวลผล และทำให้เป็นเอาท์พุททันทีที่มีการป้อนข้อมูลของธุรกรรมเกิดขึ้น เช่น การเบิกเงินจากตู้ ATM จะประมวลผลและดำเนินการทันที เมื่อมีลูกค้าใส่รหัสและป้อนข้อมูลและคำสั่งเข้าไปในเครื่อง
3. Hybrid systems เป็นวิธีการผสมผสานแบบที่ 1) และ2) โดยอาจมีการรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นทันที แต่การประมวลผลจะทำในช่วงกระยะเวลาที่กำหนด เช่น แคชเชียร์ที่ป้อนข้อมูล การซื้อขายจากลูกค้าเข้าคอมพิวเตอร์ ณ จุดขายของ แต่การประมวลผลข้อมูลจากแคชเชียร์ทุกคนอาจจะทำหลังจากนั้น (เช่น หลังเลิกงาน)

ตัวอย่างระบบ TPS
ระบบจ่ายเงินเดือน
ระบบบันทึกคำสั่งซื้อ
ระบบสินค้าคงคลัง
ระบบใบกำกับสินค้า
ระบบส่งสินค้า
ระบบบัญชีลูกหนี้
ระบบบัญชีเจ้าหนี้
ระบบสั่งซื้อสินค้า
ระบบรับสินค้า
นส.ลิปิกุล การุโณ 502-00-00004

clubzuza กล่าวว่า...

อาจารย์ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ที่เรียนเช้าวันเสาร์อะค่ะ สอบวันเสาร์ที่ 27 ก.ย. สอบกี่โมงอะคะ แล้วอาจารย์ใช้เวลาตรวจข้อสอบนานไหมคะ เพราะหนูต้องรีบโอนเกรดอะค่ะไม่งั้น ไม่ได้รับ ปริญญาปีนี้แน่เลย พวกหนูเด็กศรีปทุมค่ะ ขอบคุณค่ะ

Casanovy' '我就是我' ' กล่าวว่า...

ส่งงาน TPS
หัวข้อ ชำระค่าน้ำประปาโดยผ่านการหักบัญชีธนาคาร
<1.>ข้อมูลที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง
ตอบ ผู้ใช้น้ำสามารถทำเรื่องชำระค่าน้ำประปา โดยหักบัญชีธนาคาร สามารถทำได้สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมาชำระด้วยตนเอง เป็นบริการที่ง่าย ปลอดภัย ทันสมัยมากยิ่งขึ้นเหมาะสำหรับผู้ที่มีเวลามา
<2.>อธิบายขั้นตอนที่ชัดเจน
ตอบ 1. พนักงานการประปาจะไปอ่านมาตรที่ บ้าน แล้วปริ้นใบแจ้งหนี้ให้ผู้ใช้น้ำทราบ
2.ผู้ใช้น้ำมาชำระค่าน้ำเดือนล่าสุดที่สำนักงานการประปา แล้วสามารถขอแบบฟอร์มการหักบัญชีธนาคารได้ที่สำนักงาน
3.เมื่อกรอกแบบฟอร์มครบเรียบร้อย นำแบบฟอร์มไปที่ที่ธนาคาร เพื่อสมัครใช้บริการหักบัญชีเงินชำระค่าน้ำประปา โดยให้เจ้าหน้าที่ของธนาคารเซ็น
4.เมื่อเจ้าหน้าที่เซ็นแล้ว จะให้ธนาคารส่งเรื่องมาที่สำนักงานประปาหรือ เจ้าของบัญชีจะถือเรื่องมาที่ประปาเองก็ ได้ (ที่สำคัญจะต้องมีหมายเลขบัญชีเงินฝากของลูกค้าที่จะใช้บริการ)
<3.>ขั้นตอนในการหักบัญชีของธนาคาร
1.การประปาจะมีใบแจ้งหนี้ให้ผู้ใช้ 1 ใบ ส่วนทางด้านบาร์โค้ดจะส่งให้ธนาคาร แล้วระบุวันที่จะหักให้ชัดเจน เพื่อให้ลูกค้าทราบล่วงหน้า
2.เมื่อลูกค้าทราบยอดแล้วให้นำเงินไปเข้าธนาคารล่วงหน้า 1-2 วัน เมื่อครบกำหนดธนาคารจะหักบัญชีทันที
3.พอเดือนต่อไปพนักงานก็จะไม่อ่านมาตรน้ำปกติ พร้อมนำใบเสร็จมาให้ลูกค้าจากของเดือนที่แล้ว
ข้อมูลที่เกิด
1.สาขา-เขต
2.ทะเบียนผู้ใช้น้ำ
3.เส้นทาง ชื่อ-ที่อยู่
4.จำนวนหน่วยที่ใช้
5.ยอดรวมก่อนภาษี – รวมกับภาษี
6.ใบเสร็จรับเงิน
นางสาว พรทิพย์ ทัดเที่ยง รหัส 501-300-007

Casanovy' '我就是我' ' กล่าวว่า...

ส่งงาน TPS เรื่องการเติมเงินแบบonline-Mobile
<1>ระบบเติมเงินแบบ DTAC 12Call True
<2>กดเติมเงินตามยอดเงินที่ต้องการที่เครื่องเติมเงินอัตราค่าบริการครั้งล่ะ 2 บาท เงินที่สามารถโอนได้คือ 20,40,50,100บาท
<3>เมื่อกดอัตราค่าเติมเงินแล้วตามด้วย กดเบอร์หมายเลขโทรศัพท์ที่จะโอน
<4>ยืนยันเบอร์โทรศัพท์ถูกต้อง
<5>รอข้อความเข้าระบบโทรศัพท์ตืนว่าได้โอนเงินเข้าหมายเลข......เรียบร้อยเเล้ว

นางสาว สุธาริน แบบประเสริฐ รหัส 481-00-0330

Casanovy' '我就是我' ' กล่าวว่า...

TPS ชำระค่างวดรถ
ขั้นตอน
1.ใส่บัตร ATM แล้วกดรหัสของตัวเอง
2.กดเลือกอื่นๆแล้วกดโอนเงิน เลือกธนาคารที่ต้องการโอนเงินที่จะจ่ายงวดรถ
3.เมื่อเลือกแล้วกดไปยังออมทรัพย์ แล้วกดเลขบัญชีของบัญชีที่เราจะโอนเข้า
4.พิมพ์จำนวนเงินที่ต้องการโอน และกดตกลง
5.จากนั้นเครื่องจะแสดงชื่อ และเลขบัญชีของเจ้าหน้าที่หรือบัญชีบริษัทดูว่าใช้บัญชีของที่เราต้องการโอนหรือเปล่า จากนั้นกดตกลง
6.เครื่องATM จะให้ใบสลิปมา เพื่อเป็นหลักฐานยืนยัน
7.จากนั้นก็นำบาร์โค้ดของบิลใบเสร็จที่แจ้งยอดเงินมายิงที่ตู้ยิงบาร์โค๊ด ATM ที่เราโอนเงิน ถือว่าเสร็จสิ้นการชำระค่างวดรถ
ชื่อ น.ส. สายวสันต์ เกาะแก้ว
รหัส 491-20-0174

Casanovy' '我就是我' ' กล่าวว่า...

#TPS การโอนเงินผ่านระบบธนาคาร (ATM)
ขั้นตอน=
<1.>ใส่บัตรเข้าเครื่อง ATM แล้วกดรหัส ของบัตรเพื่อเข้าสู่ระบบหน้าจอแสดงการโอนเงิน
<2.>กดเข้าไปที่แสดงการโอนเงิน ระบบหน้าจอจะขึ้นมาให้เราเลือกว่าจะโอน ต่างธนาคารหรือธนาคารเครือค่ายเดียวกัน
<3.>ระบบหน้าจอจะแสดงชื่อธนาคารต่างๆ ถ้าธนาคารที่จะทำการโอนเงินไม่ใช่เครือค่ายเดียวกัน
<4.>กดชื่อธนาคารที่ต้องการ
<5.>หน้าจอจะแสดงให้กรอกหมายเลขบัญชีที่เราต้องการโอนเงินเข้าบัญชี
<6.>เมื่อกดหมายเลขแล้ว หน้าจอจะแสดงให้กรอกจำนวนเงินที่ต้องการจะโอน
<7.>เมื่อกรอกตัวเลขจำนวนเงินที่ต้องการจะโอนเงินแล้ว ข้างล่างหน้าจอจะมีปุ่มให้กดถูกต้องหรือไม่ถูกต้องเพื่อเช็คชื่อคนที่เราจะโอนเงินไปให้ว่าถูกต้องหรือไม่
<8.>เมื่อเช็คข้อมูลถูกต้องจอจะแสดงประมวลผลว่าทำรายการเสร็จแล้ว ก็เสร็จขั้นตอนการโอนเงิน

นางสาว วรางคณา ศรีจันทรา รหัส 481-20-0123